การเลือกเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ให้เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณ

เนื่องจากในปัจจุบันมีเว็บโฮสติ้งเกิดขึ้นมากมาย เราจะมีวิธีการเลือก Web Hosting อย่างไร เนื่องจาก Web Hosting ต่างๆ ในปัจจุบัน ช่างมากมายเสียเหลือเกิน เนื่องจากเปิดง่าย และในปัจจุบันยังมีทางเลือกแบบเช่าเครื่อง ซึ่งทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินมากอีกด้วย

การเลือกเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ให้เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณ

เนื่องจากในปัจจุบันมีเว็บโฮสติ้งเกิดขึ้นมากมาย เราจะมีวิธีการเลือก Web Hosting อย่างไร เนื่องจาก Web Hosting ต่างๆ ในปัจจุบัน ช่างมากมายเสียเหลือเกิน เนื่องจากเปิดง่าย และในปัจจุบันยังมีทางเลือกแบบเช่าเครื่อง ซึ่งทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินมากอีกด้วย

เนื่องจากในปัจจุบันมีเว็บโฮสติ้งเกิดขึ้นมากมาย เราจะมีวิธีการเลือก Web Hosting อย่างไร เนื่องจาก Web Hosting ต่างๆ ในปัจจุบัน ช่างมากมายเสียเหลือเกิน เนื่องจากเปิดง่าย และในปัจจุบันยังมีทางเลือกแบบเช่าเครื่อง ซึ่งทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินมากอีกด้วย

หลักๆ ประเด็นสำคัญในการเลือก Web Hosting ก็คือ
1. บริษัทมั่นคง มีตัวตนที่แน่นอน สามารถติดต่อ Team Support ได้ เพราะเมื่อ Server เกิดขัดข้อง หรือมีปัญหา เราจะได้ติดต่อกับผู้ดูแลข้อมูลของเราได้ทุกเมื่อ
2. Server รุ่นไหน ตั้งอยู่ที่ไหน
3. Server ที่ใช้งาน เหมาะกับ ภาษาที่เราเลือกใช้ และเพียงพอต่อ application หรือไม่ เช่น หากใช้ภาษา HTML, PHP, Falsh ก็ควรเลือกเป็น Linux Server เพราะราคาถูกกว่าและ feature คุ้มกว่า (ไม่เสียค่า license ของ windows)
4. ราคา และ Package เหมาะกับเว็บไซต์ของเรา คือ เลือกเนื้อที่ ที่เราจะใช้

เว็บโฮสติ้งคืออะไร?

พื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูล เช่น HTML,รูปภาพ, โปรแกรมต่างๆ ไว้ที่ "เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา (24 ชั่วโมง/ 7 วัน) Web Hosting ทำหน้าที่ ในการแผยแพร่เว็บเพจของเราออกสู่ internet ให้ผู้อื่นเข้าชมได้ โดย Web Hosting จะเชื่อมต่อกับ Internet ตลอดเวลาเพื่อให้บริการเมื่อมีการเรียก ข้อมูลของ Web Site ที่จัดเก็บอยู่ นอกจากนี้ยังให้บริการ การใช้งานอีเมล์ หรือ Script ต่างๆ เป็นต้น

ก่อนที่คุณจะเลือก Web Hosting คุณควรจะพิจารณาเว็บไซต์คุณก่อนว่าเว็บไซต์คุณเป็นแบบไหนเพื่อที่จะสามารถเลือก Hosting ได้ตรงกับความต้องการกับเว็บไซต์คุณ

Hosting ตั้งอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ

 

ให้พิจารณาจาก กลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาที่เว็บของคุณคือใคร หากเป็นลูกค้าในประเทศ ก็ควรเลือก Hosting ที่ตั้งอยู่ในประเทศ เพราะเวลาลูกค้าคุณกดดูข้อมูลในเว็บไซต์คุณ ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า ไม่ต้องวิ่งไปหาข้อมูลที่ต่างประเทศ แต่หากลูกค้าคุณเป็นลูกค้าต่างประเทศ ก็ควรเลือก Hosting ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ เพื่อการเข้าถึงของลูกค้าคุณจะได้รวดเร็วกว่าที่จะต้องเข้ามาดูข้อมูลที่เก็บไว้ที Hosting ในเมืองไทย

ขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ต้องพอเพียงกับข้อมูลของ Web Site ที่จัดทำ

ปกติพื้นที่ขนาด 5 MB ก็เพียงพอต่อการนำเว็บไซต์ทางธุรกิจทั่วไป ที่มี่ภาพและข้อมูล ยกเว้นแต่หากท่านจะมีข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ เช่น ข้อมูลรูปภาพหรือไฟล์เอกสารต่างๆ ที่จะเปิดให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดได้หลายรายการ และแต่ละไฟล์มีขนาดใหญ่ ท่านอาจจะต้องการพื้นที่เพิ่ม และบางแห่งจะนำ พื้นที่ๆเก็บ E-mail มานำไปคิดรวมกับพื้นที่ๆเก็บไฟล์ข้อมูลของเว็บไซต์คุณ ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ของเว็บไซต์ท่านไม่เพียงพอต่อการใช้งานได้ เพราะจะต้องใช้ร่วมกับ E-mail ซึ่งต้องเช็กกับทางผู้ให้บริการ ก่อนตัดสินใจใช้ E-mail Box แยกออกจากพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลเว็บหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่หากรวมกัน ท่านอาจจะต้องการพื้นที่ Host อย่างน้อย 15 MB เป็นอย่างต่ำ

จะมีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งไหมในเว็บของคุณ?

ถ้าหากเว็บไซต์คุณมีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งใน การทำเช่น เว็บบอร์ด, โปรแกรมส่งเมล์หาสมาชิก (Mailing List), หรือ โปรแกรมการเก็บฐานข้อมูล (Database) คุณควรจะเช็กกับทางผู้ให้บริการ Hosting ว่า Server ของเค้าเป็น OS อะไร ถ้าหากเป็น Windows ก็สามารถใช้กับ ภาษาในการเขียนโปรแกรมได้แก่ ASP, PHP, Perl ได้ แต่หากเป็น Unix ก็จะสามารถใช้ได้แค่ PHP, Perl เท่านั้น หรือบางท่านอาจจะต้องการใช้ระบบรักษาความปลอดภัย ก็อาจจะต้องใช้บริการ ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบ SSL (Secure Socket Layer) ซึ่งจะเหมาะกับเว็บไซต์ทีทำ E-Commerce

หลังจากรู้ว่าเว็บไซต์คุณต้องการอะไรแล้ว จากนั้นก็มาดูว่าการเลือก Hosting ที่ดีควรดูจากอะไรบ้าง?

1. ประสิทธิภาพของเครื่อง Server ที่มาใช้ Host

คุณควรจะเช็กก่อนว่าสเป็กของเครื่อง Server ที่จะมา Host ข้อมูลของคุณมีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง CPU, RAM หรือ Harddisk มีขนาดเท่าไร เพราะจะมีส่วนสำคัญในการทำงานและการให้บริการของ Server อย่างมาก ซึ่งหากคุณเลือกสเป็กเครื่อง Server ที่ต่ำอาจจะมีราคาถูกกว่า เครื่องสเป็กที่สูง แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการให้บริการก็จะลดลงด้วย

2. จำนวนลูกค้าต่อเครื่อง Server ที่ให้บริการ

ให้สอบถามไปยัง Hosting ที่ให้บริการว่ามีลูกค้ากี่คน ต่อเครื่อง Server ของเค้า 1 เครื่อง ซึ่ง Hosting ที่ดีจะต้องมีการกำหนดจำนวนลูกค้ากับการรองรับในการให้บริการต่อ 1 Server ทั้งนี้เพื่อจะสามารถรองกรับการใช้งานของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (จำนวนการรับลูกค้า ต่อเครื่อง Server ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ประสิทธิภาพของเครื่อง Server)

3. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล Web Hosting ที่ดีต้องมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้รวดเร็ว

หาก Hosting ของท่านตั้งอยู่ที่ ISP ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่แล้วละก็ จะช่วยทำให้การรับ-ส่งข้อมูลจากเว็บไซต์ของท่านไปยังลูกค้าคุณได้เร็วยิ่งขึ้น

4. ระบบ Backup ข้อมูล Web Hosting

ระบบ Backup ข้อมูล Web Hosting ที่ดีควรมีระบบสำรองข้อมูล(Backup) รายวัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจนข้อมูลของ Web Site สูญหาย โดยคุณสามารถเรียกข้อมูลที่ Back Up เอาไว้กลับมาให้บริการได้

5. ปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่งได้ (Bandwidth)

Hosting บางแห่งจะมีการจำกัดปริมาณข้อมูลที่มีการรับส่งเข้าออกจากเว็บไซต์ของคุณ โดยบางแห่งจะสามารถรับส่งได้ไม่จำกัด หรือบางแห่งอาจจะมีการกำหนดเอาไว้ เช่นต่อเดือน ปริมาณการรับส่งข้อมูลของเว็บไซต์คุณ 500 MB ซึ่งหากเกิน ก็อาจจะมีการชาร์ตเงินเพิ่มต่อจำนวนข้อมูลที่มีการรับส่งเพิ่มมากขึ้น

6. จำนวน e-mail ที่สามารถใช้ได้

เช็กว่าพื้นที่ๆคุณเช่า เค้าจะมีบริการ E-mail ให้กี่ E-mail ให้แก่คุณโดยคุณสามารถกำหนดชื่อ E-mail ได้ตามที่คุณต้องการ

7. การ Support หรือการให้บริการหลังการขาย

การให้บริการหลังการขายถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ท่านควรจะเช็กก่อนว่าเวลาในการให้บริการของ Web Hosting ในการให้บริการตอบคำถาม หรือติดตามปัญหาต่างๆ รวดเร็วแค่ไหน มีบริการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันไหม? (ส่วนใหญ่คนที่เลือกบริการ Hosting ต่างประเทศมักจะเจอปัญหาการติดต่อกับผู้ให้บริการลำบาก)

8. ราคาหรือค่าบริการ

อัตราค่าบริการที่ Web Hosting เรียกเก็บเป็นรายเดือนจะขึ้นอยู่กับความสามารถและประสิทธิภาพของ Hosting ที่ต้องการ โดยราคาค่าบริการบางแห่ง มีค่าบริการหลัก 10 บาทไปจนถึง เป็นหมื่นต่อเดือน โดยทั่วไปผู้ให้บริการ Web Hosting จะมีบริการให้เลือกหลายรูปแบบ บางที่จะเรียกเก็บค่า Setup หรือค่าแรกเข้าเมื่อเริ่มใช้บริการ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงปัจจัยบางส่วนในการเลือก Hosting ในการเก็บรักษาข้อมูลของเว็บไซต์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจให้ดีตั้งแต่แรก เพราะหากมีปัญหาและท่านต้องย้าย Hosting จะเป็นเรื่องที่จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมาก ดังนี้ ใช้เวลาเลือกซักนิดก่อน จะได้ใช้ไปนานๆ ครับ

ปัจจุบันธุรกิจเว็บ hosting เป็นธุรกิจที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยเงินลงทุนเพียงแค่ไม่กี่ร้อยบาท ถึงไม่กี่ หมื่นบาท ก็สามารถทำธุรกิจเว็บ hosting ได้แล้ว ทำให้มีผู้ประกอบการใหม่ๆ เข้ามาสู่ธุรกิจนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เป็นผู้ที่ทำเป็นอาชีพจริงๆ หรือ มือสมัครเล่น รวมถึงนักศึกษาที่ต้องการทดลองหรือหารายได้พิเศษจากธุรกิจนี้ ทำให้มีการแข่งขันกันสูง ราคาและคุณภาพการบริการก็หลากหลาย บทความนี้เป็นบทความที่ผมเขียนต่อจาก "การเลือกเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ให้เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณ" เพราะเห็นว่าน่าจะเพิ่มเติมคำแนะนำบางอย่างเข้าไป ในการเลือกผู้ให้บริการเว็บ hosting ซึ่งน่าจะช่วยให้ผู้ที่ กำลังมองหาเว็บ hosting ได้มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นในการตัดสินใจ

การเลือกผู้ให้บริการเว็บ

1. ทดสอบคุณภาพการบริการทางอีเมล์

คุณอาจจะลองเมล์ไปสอบถามคำถามต่างๆกับทาง support แล้วลองดูระยะเวลาการตอบกลับอีเมล์ปัญหาของคุณว่าใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ถ้าการตอบแต่ละครั้งใช้เวลานาน (ไม่ควรเกิน 1 วัน) แบบนี้ก็ไม่น่าที่จะเลือกใช้บริการ ลองส่งเมล์ไปสอบถามซัก 4-5 ครั้ง หรือมากกว่านี้ก็ได้ เพื่อดูความรวดเร็วในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า และ ความใส่ใจในการบริการ ของผู้ให้บริการ

2. ทดสอบคุณภาพการบริการทางโทรศัพท์

เว็บไซต์ที่มีการให้รายละเอียดว่าบริการตอบปัญหาทางโทรศัพท์ แบบ 24 ชั่วโมง 7 วัน (24x7) ให้คุณลองโทรไปสอบถามในช่วงเวลาดึกๆ แล้วดูการให้ บริการของ ทาง support ว่าจะให้บริการได้จริงหรือไม่ แล้วการตอบคำถามเป็นอย่างไร มี hosting หลายรายที่ระบุไว้ว่า support ทาง โทรศัพท์ 24 ชั่วโมง แต่ ไม่ได้มีบริการเช่นนั้นจริงๆ

3. ช่องทางการติดต่อกับผู้ให้บริการ

ควรจะมีหลายๆ ช่องทางในการที่จะติดต่อกับผู้ให้บริการได้เผื่อในกรณีที่เกิดปัญหาจะได้ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว ทั้งเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน, โทรศัพท์มือถือ และทางอีเมล์ ผู้ให้บริการ hosting บางรายแม้ว่าจะมีการให้บริการที่ดี แต่ถ้าคุณสามารถติดต่อได้แค่ทางอีเมล์แล้ว นั่นก็หมายถึงว่าคุณจะต้องรอรับการ บริการจากทางอีเมล์เท่านั้น

4. อย่าจ่ายเงินล่วงหน้าแบบรายปี ถ้ายังไม่แน่ใจ

การจะจ่ายเงินล่วงล่วงหน้าแบบรายปี ถึงแม้ราคาจะถูกกว่าการจ่ายแบบรายเดือน หรือ 3 เดือน แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องของผู้ให้บริการปิดตัวลงก่อนครบสัญญา หรือการให้ บริการที่ไม่ดี ตลอดระยะเวลาของสัญญาการให้บริการ ดังนั้นก่อนการจ่ายเงินเพื่อเช่าพื้นที่ก็ควรจะมีการทดลองการใช้งานและทดสอบการให้บริการของ hosting นั้นๆ ก่อน อาจจะเช่าเป็นรายเดือนซัก 1-2 เดือนเพื่อทดลองหลังจากมั่นใจแล้วถึงจะเปลี่ยนเป็นจ่ายแบบรายปีก็ได้

5. ตรวจสอบเรื่องสถานะของผู้ให้บริการ

คุณอาจจะดูจากลักษณะการประกอบธุรกิจ ว่ามีการจดทะเบียนหรือไม่ ผู้ให้บริการที่มีการจดทะเบียนเชิงพาณิชย์ ก็น่าจะสร้างความมั่นใจให้กับคุณได้อีกระดับหนึ่งว่า มีความตั้งใจในการการประกอบธุรกิจนั้นจริงๆจังๆ แต่การจดทะเบียนก็ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะได้รับการบริการที่ดีเสมอไป ดังนั้นคุณควรจะใช้ การทดสอบคุณภาพการบริการ เป็นปัจจัยหลักก่อนในตัดสินใจ

6. มีการรับประกันการคืนเงินหรือไม่

ในกรณีนี้อย่างน้อยก็ทำให้คุณมีโอกาสได้รับเงินคืนหากคุณไม่พอใจในการใช้บริการนั้น

7. ราคาไม่ใช่ตัวบอกถึงคุณภาพการบริการเสมอไป

hosting ที่มีราคาแพง ไม่จำเป็นจะต้องมีประสิทธิภาพ และบริการที่ดีเสมอไป ในการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจ hosting คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อบริการที่ดีกว่า คำว่า "ของดีราคาถูก" ยังมีอยู่ให้เห็นบ้าง แต่ก็อย่าลืมว่า "ของดีราคาถูก" ก็ดีในระดับหนึ่งเท่านั้น

ทั้งหมดนี้น่าจะช่วยทำให้คุณได้คำตอบว่า hosting เจ้านั้นมีบริการที่ดี เหมาะที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อบริการหรือไม่