ภาพรวมเว็บไซต์ช้อบปิ้งออนไลน์ในไทย

ในปัจจุบันคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตบางส่วน เมื่อจะหาซื้อสินค้า หลายคนมักจะเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อทำการตรวจสอบราคาสินค้า หรือทำการเลือกซื้อสินค้า ก่อนไปทำการเลือกซื้อจริง หรือบางคนก็ทำการสั่งซื้อสินค้าโดยตรงผ่านหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า และยังสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดายโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน และยังได้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าตามท้องตลาดทั่วไปอีกด้วย

ภาพรวมเว็บไซต์ช้อบปิ้งออนไลน์ในไทย

ในปัจจุบันคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตบางส่วน เมื่อจะหาซื้อสินค้า หลายคนมักจะเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อทำการตรวจสอบราคาสินค้า หรือทำการเลือกซื้อสินค้า ก่อนไปทำการเลือกซื้อจริง หรือบางคนก็ทำการสั่งซื้อสินค้าโดยตรงผ่านหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า และยังสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดายโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน และยังได้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าตามท้องตลาดทั่วไปอีกด้วย

ในปัจจุบันคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตบางส่วน เมื่อจะหาซื้อสินค้า หลายคนมักจะเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อทำการตรวจสอบราคาสินค้า หรือทำการเลือกซื้อสินค้า ก่อนไปทำการเลือกซื้อจริง หรือบางคนก็ทำการสั่งซื้อสินค้าโดยตรงผ่านหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า และยังสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดายโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน และยังได้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าตามท้องตลาดทั่วไปอีกด้วย ด้วยรูปแบบของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่เกิดขึ้นในเมืองไทยมีหลายรูปแบบได้แก่ เว็บไซต์ แค็ตตาล็อกออนไลน์ (E-Catalog), เว็บไซต์ร้านค้าสั่งทำ (E-Tailor), เว็บไซต์ประกาศซื้อ-ขาย (E-Classfieds), เว็บไซต์ประมูลสินค้า (E-Auction) และเว็บไซต์ตลาดกลาง (E-Marketplace)

เว็บไซต์แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างทั้งในด้านลักษณะและรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งผู้ซื้อสามารถเข้าไปเลือกดูสินค้าตามเว็บเหล่านี้ได้ โดยเว็บไซต์ค้าขายในเมืองไทยส่วนใหญ่ ยังคงเป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของแค็ตตาล็อกออนไลน์ ที่ภายในเว็บไซต์จะมีเพียงรูปภาพและรายละเอียดสินค้า ไม่มีระบบการชำระเงิน และการขนส่ง เว็บไซต์ที่เปิดขึ้นมาเป็นเพียงหน้าร้านที่ต้องการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น หากใครต้องการซื้อสินค้า จะต้องทำการติดต่อกับร้านค้าเอง นอกจากนี้ รูปแบบการให้บริการของเว็บไซต์ E-Classified ที่ให้คนทั่วไปสามารถประกาศซื้อ-ขายสินค้าของตัวเองได้อย่างอิสระเสรี จึงทำให้เว็บไซต์ประเภทนี้ถือเป็นแหล่งที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมไปจับจ่ายซื้อสินค้า ผ่านเว็บไซต์เหล่านี้ อาทิ http://www.thaisecondhand.com/ , http://www.pantipmarket.com/ เป็นต้น

การเติบโตของผู้ให้บริการและซอฟต์แวร์ E-Commerce
เนื่องจากปีนี้ ธุรกิจต่างๆ เริ่มนำอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือในการใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารและทำการค้ามากขึ้น ดังนั้น หลายๆ ธุรกิจต่างเริ่มให้ความสนใจที่จะเปิดเว็บไซต์ของบริษัท หรือองค์กรของตนเองเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการของตนผ่านเว็บไซต์ ซึ่งส่งผลสะท้อนทำให้ตลาด การรับพัฒนาเว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์ประเภทเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการที่ต้องการนำสินค้ามาขายผ่านเว็บไซต์สามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์เลย เช่น quickweb.tarad.com หรือ www.yoursme.com ระบบชำระเงินสำเร็จรูปพร้อมใช้
การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตถือเป็นวิธีการชำระเงิน ที่เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ หรือช้อปปิ้งมอลล์ ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ แต่การนำระบบชำระผ่านบัตรเครดิตมาใช้ในสมัยก่อน จะต้องติดต่อกับทางธนาคารซึ่งมีกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย ทำให้การนำระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตบนเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ลำบาก แต่สำหรับปีที่ผ่านมา มีผู้ให้บริการรับบริการเป็นตัวกลางในการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตมากขึ้นหลายๆ แห่ง ได้แก่ http://www.ecommercepay.com/, http://www.taradpay.com/, http://www.thaiepay.com/ เป็นต้น โดยบริการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถให้บริการขายสินค้าโดยสามารถชำระผ่านบัตรเดรดิตได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดต่อกับทางธนาคารเลย เพราะผู้ให้บริการต่างๆ เหล่านี้ จะทำหน้าที่ช่วยและจัดทำระบบการชำระเงินสำเร็จรูปพร้อมใช้ จึงทำให้การซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์และชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น และทำให้จำนวนเว็บไซต์ที่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเพิ่มจำนวนมากขึ้นในปีที่ผ่านมา สำหรับในปีนี้ คงจะได้เห็นเว็บไซต์ต่างๆ ได้นำระบบชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้ เช่น ระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ M-Pay ของทาง AIS หรือระบบการชำระเงินผ่านทาง E-Mail ของทาง Paysbuy.com (คล้ายรูปแบบของ PayPal.com) ซึ่งจะทำให้การจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มีความสะดวกมากขึ้น

จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย
ในปี 2547 ที่ผ่านมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้นำระบบ เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์เข้ามาใช้กับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ จากเดิมที่ยังเป็นระบบที่ยังไม่ออนไลน์ โดยผู้ที่จดทะเบียนกับทางกรมจะสามารถนำใบจดทะเบียนดิจิตอลไปติดไว้ที่เว็บไซต์ของตน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และยืนยันความมีตัวตน ให้กับเว็บไซต์เหล่านั้น โดยมีจำนวนผู้ประกอบการที่มาจดทะเบียนกับทางกรม 1,331 เว็บไซต์

พฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ไนประเทศปี 2547
จากการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประจำปี 2547 ที่ผ่านมา โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พบว่าตัวเลขของผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีสูงมากขึ้นจากเดิม 20.9% เป็น 29.9% ซึ่งเพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อน

ประสบการณ์การซื้อสินค้า และบริการทางอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลจากรายงานผลการสํารวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2547 โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จะต่ำกว่าหนึ่งพันบาท และกลุ่มที่ซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตมีมูลค่ามากกว่า 40,000 บาท มีเพียงร้อยละ 1.8 เท่านั้น

อนาคตการซื้อขายสินค้าออนไลน์
ด้วยจำนวนเว็บไซต์ประเภทอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วในทุกกลุ่มธุรกิจ, ระบบการชำระเงินมีความหลากหลายและสะดวกมากขึ้น, จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมของคนไทยที่นิยมจับจ่ายและซื้อหาสินค้ากันทางเว็บไซต์มากขึ้น จะทำให้ภาพรวมของการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของเมืองไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนของธุรกิจเริ่มขยับขยาย โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าอีกช่องทางหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น การทราบถึงข้อมูลภาพรวมของธุรกิจประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการธุรกิจดังกล่าว เพราะข้อมูลสถิติเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจแนวโน้มของตลาด และพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มคนในสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต่อไป

 

ข้อมูลจาก นิตยสาร e-commerce

บทความวันที่ 9 พฤษภาคม 2549